วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Learning English - Lesson One (Introduction)

อัปโหลดโดย เมื่อ 18 มี.ค. 2008

Hi everybody this is Misterduncan in England.
How are you today?
Are you ok?...I hope so.
Are you happy?...I hope so.
Welcome to the very first episode
of my series of English teaching videos
Before I begin we will take alook at some
of the common questions that often arise
when talking about learning the English language.
and more importantly, learning it as a second language.
So, the first question must be...
"Why do we need to learn English?"

Of course one of the reasons
why we need to be able to speak English nowadays
is because the world is becoming smaller.
Thanks to the internet and our developing global economy,
more and more people are using English as a common way to communicate with each other.
So now it has become unavoidable
that companies and large businesses will need to employ people.who can speak more than their own native language, that is where English comes in.
It is now officially considered as an international language.
Of course learning anything is difficult and English is no exception. However, there are ways to make the situation easier. I have come up with my own list of general rules
for learning English Do you want to hear them?
Do you want to know what they are?
Ok...let's go!
Learning English takes time and patience.
It cannot be rushed
Try to relax and take it easy
The most important thing you need at to beginning
is a good vocabulary
Without words, you have nothing to work with
You must start with a strong foundation or base.
and slowly build on it, day by day!
You must view English as a part of your body...
just as you would an arm or leg
It must become a part of your everyday life.
Daily practice is very important.
Do not worry about making mistakes...
in fact the more mistakes you make...
The more you will learn from them
just like learning to ride a bike
sometimes you fall off.
So what do you do?
You get back on and try again.
Do not look at English as just another subject

Your attitude to English and the way you view it
Will decide how well you progress.
just as we say in English
"No pain...no gain"
The two most important words to remember
when learning English are...
practise and confidence.
Practise English everyday and be confident.
You will find that the more you use English...
the better your English will become.
and the more confident you become...
then the more you will want to use it.
Make it a rule to tell yourself...
I can do it...I can do it...I can do it !
Please remember, my lessons are aimed at everyone
so hopefully you will find something useful in each one.
Maybe you will find some of the words I use very easy.
But you will also see some words that may be new to you.
Remember...my lessons are aimed at everyone.
Even teachers are very welcome to join in.
Learning English should be a fun experience
and I hope with the help of my videos lessons
you will discover just how much fun it can be.
I hope you've enjoyed my first lesson.
This is Misterduncan in England saying
Thanks for watching and bye-bye for now.

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ : หยุดคุกคามเสรีภาพทางวิชาการได้แล้ว

 

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ : หยุดคุกคามเสรีภาพทางวิชาการได้แล้ว

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 19:30:00 น.






(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555)


รู้สึกเห็นใจคณะนิติราษฎร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็นอย่างมากที่ถูกรุมกระหน่ำจากทุกสารทิศ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งกลุ่มคนที่เคยคาดว่าน่าจะเป็นพวกเดียวกันอย่างพรรคเพื่อไทย

คณะนิติราษฎร์มองเห็นว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีความไม่เหมาะสมทั้งในแง่โครงสร้างของบทบัญญัติ อัตราโทษ และการบังคับใช้

อีกทั้งยังเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้บุคคลนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือนำไปใช้โดยไม่สุจริต และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะนิติราษฎร์จึงได้ออกมาจุดประกายความคิดด้วยการเสนอขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีเสียงตอบรับอย่างท่วมท้นจากสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มที่ออกมาคัดค้านการแก้กฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวนไม่น้อย

สิ่งนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แต่สิ่งที่ไม่ปกติก็คือกลุ่มที่ออกมาคัดค้านการแก้ไขมาตรา 112 ไม่เคยออกมาโต้แย้งในเชิงเหตุผลกับคณะนิติราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็น ผบ.ทบ. (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) หรือ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ 

คนกลุ่มนี้มีแต่ออกมาข่มขู่ และกล่าวหาคณะนิติราษฎร์ว่าเป็นพวกล้มเจ้า ไล่ให้ไปอยู่เมืองนอก และล่าสุดบอกว่าจะส่งหน่วยข่าวตรวจสอบคณะนิติราษฎร์

อย่างนี้จะเข้าข่ายเป็นการคุกคามเสรีภาพของประชาชนหรือไม่

ทางที่ดีแล้วกลุ่มที่คัดค้านมาตรา 112 ควรที่จะหาเหตุผลมาโต้แย้งเนื้อหาที่คณะนิติราษฎร์นำเสนอว่ามีความไม่เหมาะสมตรงไหน แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการพูดถึงเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย

ที่ไม่พูดอาจเป็นเพราะคนกลุ่มนี้ไม่เคยอ่านข้อเสนอในการแก้มาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ 

เชื่อว่าหากคนกลุ่มนี้เคยได้อ่านคงไม่ออกมาพูดว่าคณะนิติราษฎร์เสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 แล้วลามไปถึงคำพูดในทำนองว่าหากมีการยกเลิกกฎหมายนี้แล้วมีผู้ละเมิดด่าทอผู้ปกครอง ญาติหรือพ่อแม่ของท่านจะรับได้หรือไม่ 

หรือเคยอ่านแล้วแต่แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ

ไม่ว่าจะไม่เคยอ่านหรืออ่านแล้วแต่ไม่เข้าใจ จะขอสรุปข้อเสนอแนะร่างแก้ไขมาตรา 112 ที่คณะนิติราษฎร์ได้นำเสนอไว้ซึ่งมีประเด็นหลักๆ ดังนี้

1.ให้ย้ายหมวดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ออกจากลักษณะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักรไปอยู่ในหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับการละเมิดพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

2.แยกการกำหนดบทลงโทษเพื่อคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3.เปลี่ยนบทกำหนดโทษโดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ ลดอัตราโทษขั้นสูงให้เป็นจำคุกไม่เกินสองปี สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และกำหนดโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดกรณีการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต และทางวิชาการ

5.เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีข้อกล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่ห้ามมิให้พิสูจน์ข้อกล่าวหาที่เป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว

6.ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษแจ้งความ แต่ให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์มีตรงไหนที่ให้ยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์รัชทายาท

เนื้อหาหลักของมาตรา 112 ยังคงมีอยู่ในร่างแก้ไขของคณะนิติราษฎร์ เพียงแต่มีการปรับแก้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยย้ายจากหมวดความมั่นคงของราชอาณาจักรไปอยู่ในหมวดการละเมิดพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ มีการกำหนดอัตราโทษใหม่ให้เหมาะสม และมีการป้องกันไม่ให้นำเรื่องนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยระบุให้สำนักราชเลขาธิการเป็นหน่วยงานที่จะเป็นผู้กล่าวโทษ

สังคมไทยทุกวันนี้แทนที่จะพิจารณาตัดสินปัญหากันด้วยเหตุผล แต่กลับตัดสินกันด้วยอารมณ์และความรู้สึก

สถาบันอุดมศึกษาซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำทางวิชาการควรจะได้แสดงบทบาทในเรื่องนี้ให้มากขึ้นโดยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดเสวนาในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการถกเถียงกันในเชิงวิชาการโดยเชิญกลุ่มที่มีความเห็นต่างกันมาพูดคุยเพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้

แต่กลับไม่มีมหาวิทยาลัยใดเลยที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการแสดงบทบาทดังกล่าว บางมหาวิทยาลัยกลับไปทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น ห้ามจัดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้มาตรา 112 ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมืองไทยที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมายาวนานถึง 80 ปี ทำได้เพียงแค่นี้เท่านั้นเองหรือ

อาจารย์มหาวิทยาลัยยังถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางวิชาการขนาดนี้ แล้วจะไปหวังอะไรกับเสรีภาพของประชาชน

จริงๆ แล้ว มาตรา 112 เป็นกฎหมายมาตราหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา และที่ผ่านมาในอดีตกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เคยมีการแก้ไขมาแล้วในปี 2519

การเสนอขอแก้ไขมาตรา 112 มิใช่มีแต่เฉพาะกลุ่มของคณะนิติราษฎร์เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น

ถ้ายังจำกันได้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยมีแนวคิดที่จะให้มีการแก้ไขมาตรา 112

ดร.คณิต ณ นคร ประธาน คอป. ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความเห็นว่า มาตรา 112 ควรได้รับการแก้ไข

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
 ราชนิกุลผู้สูงศักดิ์ก็เคยให้สัมภาษณ์เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีที่แล้วในหนังสือ "ลอกคราบ ส. ศิวรักษ์" เกี่ยวกับมาตรา 112 ซึ่งบทสัมภาษณ์ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ในครั้งนั้นค่อนข้างจะสอดคล้องกับข้อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์

ส่วนกลุ่มคนที่ร่วมลงชื่อเสนอขอแก้ไขมาตรา 112 กับคณะนิติราษฎร์ก็ล้วนเป็นบุคคลชั้นนำของประเทศ โดยมีทั้งกลุ่มราชนิกุล และอาจารย์ระดับแถวหน้าของเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์

คนกลุ่มนี้กลับไม่ถูกกล่าวหาว่าล้มเจ้า จะมีก็แต่เฉพาะ รศ.ดร.วรเจตน์เท่านั้นที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นพวกล้มเจ้า

หรือหากจะมีการกล่าวหากลุ่มบุคคลที่ร่วมลงชื่อแก้ไขมาตรา 112 ว่าเป็นพวกมีแนวคิดจะล้มเจ้า ล้มสถาบัน เชื่อว่าสังคมส่วนใหญ่ก็คงยอมรับไม่ได้


ทำไมไม่ปล่อยให้เรื่องนี้เป็นไปตามครรลองของประชาธิปไตยโดยเปิดเวทีให้มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการ ปล่อยให้สู้กันบนดินจะมิดีกว่าปล่อยให้สู้กันใต้ดินหรือ

ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เป็นเพียงการจุดแสงสว่างทางปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม หากสังคมส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ยังยอมรับเรื่องนี้ไม่ได้ ข้อเสนอดังกล่าวของคณะนิติราษฎร์ก็ต้องเป็นหมันไปในที่สุด

ดังนั้น จึงไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องออกมาข่มขู่ คุกคามคณะนิติราษฎร์ให้เป็นที่น่าสมเพช เช่นที่ทำกันอยู่ในเวลานี้เลย

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รองนายกฯ เตรียมเสนอที่ประชุม ครม.บูรณาการ 9 กระทรวงขุดคลองช่วย กทม. เตรียมป้องกันน้ำท่วม

รองนายกฯ เตรียมเสนอที่ประชุม ครม.บูรณาการ 9 กระทรวงขุดคลองช่วย กทม. เตรียมป้องกันน้ำท่วม

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี บูรณาการ 9 กระทรวงขุดคลองช่วย กทม. เตรียมป้องกันน้ำท่วม
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนปฏิบัติการในระยะเร่งด่วน และร่างแผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากร (กยน.) โดยนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ตนเอง จัดการประชุมปรึกษาหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา จะมีการนำสรุปผลการประชุมดังกล่าว เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (7 ก.พ.55) เพื่อขอความเห็นชอบในแนวทางการช่วยเหลือกรุงเทพมหานครดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำท่วม โดยจะช่วยสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพมหานคร ในการดำเนินการป้องกันน้ำท่วมการขุดลอกคลอง การซ่อมแซมประตูระบายน้ำ การออกแบบและการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ การเชื่อมโยงระบบเตือนภัย รวมถึงการจัดทำแผนเผชิญเหตุและคลังเครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยการแบ่งงานขุดลอกคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงภายใต้การบูรณาการความรับผิดชอบขุดลอกคลองระหว่าง กทม.และ 9 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม,กระทรวงมหาดไทย , กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงแรงงาน , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , กระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปช่วยดำเนินการขุดลอกคลองในพื้นที่ กทม. รวม 43 คลอง อาทิ คลองเปรมประชากร มอบให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ คลองพระยาสุเรนทร์มอบกระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการขุดคลองของส่วนราชการที่รับผิดชอบ มอบหมายให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากร (กยน.) พิจารณาดำเนินการต่อไป โดยได้มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้เหลือผู้ประสบอุทกภัย ติดตามการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงาน กยน. เพื่อรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบทุกระยะ

 
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ขนิษฐา ลือสัตย์    Rewriter : ธนวัต วงศ์วิริยะวณิช 
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th



 วันที่ข่าว : 06 กุมภาพันธ์ 2555 
 

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC (06 ก.พ. 55)



จาก: KSMECare Team <info@ksmecare.com>
วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555, 12:49
หัวเรื่อง: บทความ K SME Analysis เรื่อง การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC (06 ก.พ. 55)
ถึง:  




เรียน สมาชิก K SME Care

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่อง เที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC

       การเปิดตลาด AEC ส่งผลให้ภาคบริการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการคาดการณ์ของ องค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO) ที่ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคจะกลายเป็นจุดหมายยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก (มีสัดส่วนตลาดเป็น 1 ใน 4 ของตลาด ท่องเที่ยวทั่วโลก) จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจบริการจากต่างชาติ มุ่งขยายการลงทุนเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมรองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาจำนวนมากนั้น อีกทั้ง ประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนเอง ต่างเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวแห่งใหม่ รวมถึงปรับปรุงภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจบริการท่องเที่ยวของไทย (Hospitality) ควรเร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการ โดยแสวงหาจุดยืนที่แตกต่าง จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อหาช่องว่างการให้บริการที่รายอื่นยังไม่สามารถตอบสนองได้ รวมถึงรักษาระดับมาตรฐานการให้บริการอย่างดีที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวใน ปัจจุบันนิยมค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยไม่ยึดติดกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หากแต่จะเลือกสรรบริการที่มีเอกลักษณ์ สร้างความประทับใจ ด้วย ระดับราคาที่เหมาะสม รวมถึงชอบที่จะทดลองในสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการที่จะขยายส่วนแบ่งในตลาดบริการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนอาจก้าว เข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ในระยะต่อไป


คลิกที่นี่เพื่ออ่านทั้งหมด


กรณีต้องการสอบถามข้อมูล
E-mail: info@ksmecare.com