วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

"ไอแพด" ที่สุดของแท็บเลต 5 ปรากฏการณ์เขย่าโลก คาดกวาดยอดขายทะลัก 13 ล้านเครื่อง






วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:50:47 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"ไอแพด" ที่สุดของแท็บเลต 5 ปรากฏการณ์เขย่าโลก คาดกวาดยอดขายทะลัก 13 ล้านเครื่อง

ย้อน รอย 1 ปีก่อน"แท็บเลต"เผยโฉมสู่สายตาชาวโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต่างฟันธงว่าจะเจ๊งไม่เป็นท่า รวมถึง "ไอแพด"ของสตีฟ จ๊อบด้วย แต่ตรงกันข้าม ไอแพดประสบความสำเร็จอย่างงดงามหลังเปิดตัว บริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำคาดการณ์ว่าปี 2553 แอปเปิลจะขายไอแพดได้มากถึง 13.3 ล้านเครื่อง ตามไปดูว่าไอแพดมีดีอย่างไร

 ไม่เกิน 1 ปีก่อนหน้านี้ ก่อนที่แท็บเลตพะยี่ห้อ "แอปเปิล" จะปรากฏโฉมสู่สายตาชาวโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทั้งหลายต่างออกมาตั้งคำถามในทำนองเดียวกันว่า "เจ้าไอแท็บเลต" (นิกเนมที่เรียกกันในขณะนี้) ของแอปเปิลจะมีใครซื้อไปใช้หรือไม่
 ไม่มีใครเชื่อว่าแท็บเลตของ "สตีฟ จ็อบ" แห่งแอปเปิลจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับที่ "ไอโฟน" ทำได้มาแล้ว
 "อิน โฟเวิลด์" เว็บไซต์ไอทีดังถึงกับเขียนบทความเพื่ออธิบายว่า "เหตุใดจึงมีข่าวลือว่าไอแท็บเลตของแอปเปิลจะเจ๊งไม่เป็นท่า" เช่นเดียวกับอีกเว็บดัง "เว็นเจอร์บีท" ที่ออกมาทำนายแบบฟันธงถึงเทรนด์ของผลิตภัณฑ์ด้านไอทีในปี 2010 ว่า "สินค้าประเภทแท็บเลตจะต้องประสบความล้มเหลว"
 เราคงรู้กันแล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับแท็บเลตของแอปเปิล นาม "ไอแพด" เป็นเช่นไร
 "ไอ แพด" ประสบความสำเร็จอย่างงดงามหลังเปิดตัวทำตลาด โดยบริษัทวิจัยการตลาดทางอินเทอร์เน็ต "อีมาร์เก็ตเตอร์" ถึงคาดการณ์ว่าแอปเปิลจะขายไอแพดได้มากถึง 13.3 ล้านเครื่องภายในสิ้นปี ยังมีผลสำรวจอีกชิ้นชี้ให้เห็นด้วยว่า ไอแพดได้กลายเป็นของขวัญที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดในช่วงเทศกาลวันหยุด สิ้นปี
 มากไปกว่านั้น "ไอแพด" ยังได้สร้างผลกระทบในวงกว้างมากกว่าการพลิกโฉมอุปกรณ์ไอที
 "ไอแพด" ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลกใบนี้ในแบบที่เราคาดไม่ถึง ดังนี้
  1.ผลักดันให้แอปเปิลกลายเป็นบริษัทไอทีอันดับหนึ่งของโลก
 ไม่ ต้องบอกก็รู้ว่าไอแพดมีส่วนช่วยดันให้แอปเปิลพุ่งทะยานจนเป็นที่ 1 เหนือบริษัทไอทีเจ้าอื่นได้ เพราะในเดือนพฤษภาคมเพียง 1 เดือนหลัง "ไอแพด" วางตลาดทำให้แอปเปิลกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีใหญ่สุดในโลกแทบจะในทันที จากเดิมที่ใคร ๆ เคยมองว่าแอปเปิลคงต้องอยู่ใต้เงาของ "ไมโครซอฟท์ไปตลอดกาล"
 ความคิดนี้ต้องเปลี่ยนไปเมื่อแอปเปิลสามารถล้มแชมป์ยักษ์ใหญ่ไอทีลงได้สำเร็จ
 2.สร้างเซ็กเมนต์สินค้าใหม่ให้ตลาด
 ไอ แพดได้จุดประกายความสนใจให้ตลาดคอมพิวเตอร์แท็บเลตพีซีอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่ตลาดนี้เหมือนจะแน่นิ่งไปแล้ว โดยไม่ช้าไม่นานหลังแอปเปิลเปิดตัวไอแพด คู่แข่งรายอื่นก็ปรากฏตัวขึ้นตามมาแทบจะในทันที ไม่ว่าจะเป็นค่ายเกาหลี "ซัมซุง" ด้วย "กาแล็คซี่แท็บ" แต่ถึงกระนั้นนักการตลาดทั้งหลายยังมีความมั่นใจว่าแอปเปิลจะยังครองความ เป็นผู้นำในตลาดแท็บเลตไปอีกนาน
 3.ฟื้นชีพตลาดสิ่งพิมพ์
 เราคงไม่ สามารถฟันธงลงไปได้ว่า "ไอแพด" คือผู้ช่วยชีวิตตัวจริงของสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือมันได้จุดกระแสความนิยมของการอ่านนิตยสารและ หนังสือพิมพ์ที่ซบเซาให้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง โดยบรรดาแอปพลิเคชั่นแปลก ๆ ทั้งหลายได้หยิบยื่นประสบการณ์อันเป็นเอกลักษณ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งคือการ "สัมผัสได้จริง" มาสู่อุปกรณ์ดิจิทัลตัวนี้
 นอกจากนี้ แอปพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมอย่าง "ฟลิปบอร์ด" ยังได้ผสมผสาน "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" ของเว็บไซต์เข้ากับการสร้างประสบการณ์เสมือนให้รู้สึกว่ากำลังถือหนังสือ พิมพ์จริง ๆ ด้วย
 ที่สำคัญอุปกรณ์อย่าง "ไอแพด" ยังทำให้บรรดาผู้ผลิตสื่อสามารถเรียกเก็บค่าหนังสือของตนได้อีกครั้ง แต่นี่เป็นแค่การเริ่มต้นยังต้องจับตาดูกันต่อไปว่าแนวโน้มการเก็บเงินค่าอี บุ๊กจะยังมีต่อไปหรือไม่ เมื่อจำนวนเนื้อหาที่มีในไอแพดเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
 4.ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าเว็บไซต์
 นี่ อาจไม่ใช่ผลกระทบที่แอปเปิลต้องการให้เกิดขึ้น แต่ "ไอแพด" ได้เปลี่ยนรูปแบบการดีไซน์ของหน้าเว็บไซต์ไปแล้วจริง ๆ ผลของเรื่องนี้มาจากการที่บริษัทเว็บไซต์ต่าง ๆ พบความจริงที่ว่า แอปพลิเคชั่นบนไอแพดใช้งานมีประสิทธิภาพกว่าเว็บไซต์ต้นตำรับของตนเองเสีย อีก ทำให้บรรดาเว็บต้นตำรับหันมาปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ของตนเองให้คล้ายแอปพลิ เคชั่นที่เกิดทีหลัง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการที่เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กชื่อดัง อย่างทวิตเตอร์ปรับการดีไซน์หน้าเว็บไซต์ใหม่ ซึ่งมีลักษณะหน้าตาคล้ายกับแอปพลิเคชั่นทวิตเตอร์ที่ตนเองเป็นผู้พัฒนาขึ้น มามาก
 5.แอพสโตร์บูม
 ไอแพดได้สร้างรูปแบบการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นและ เนื้อหาต่าง ๆ บนอุปกรณ์พกพา ผ่านโมเดลแอพสโตร์ที่มีลักษณะเด่นแบบหาตัวจับยาก หลายคนอาจไม่ทราบว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของไอแพดไม่ใช่การเป็นอุปกรณ์ที่ทำ ตัวเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงเว็บไซต์ แต่เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นต่างหาก แม้แอปพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาออกมาให้เหมาะกับหน้าจอขนาดเล็ก ๆ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบช้า ๆ ของไอโฟน แต่มันคงไม่มีอะไรเสียหายหากแอพฯเหล่านั้นจะย้ายมาอยู่บนอุปกรณ์ที่หน้าจอ ใหญ่ขึ้นและมีการเชื่อมต่อเร็วขึ้นผ่านเครือข่ายไว-ไฟใช่หรือไม่ ?
 ถึง อย่างนั้นมันจะไม่เป็นการดีกว่าเหรอ ถ้าผู้บริโภคเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ฟรี ๆ แทนที่จะต้องมาจ่ายค่าเนื้อหาเดียวกันนี้ผ่านแอปพลิเคชั่น แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่กลับมองว่าแอปพลิเคชั่นคือศูนย์กลางของประสบการณ์การ ใช้งานอุปกรณ์พกพาไปซะแล้ว



                                        http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1293793203&grpid=02&catid=no

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น