วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

4 ประเทศต้นแบบ... ป้องกันอุทกภัยซ้ำรอย!!!

4 ประเทศต้นแบบ... ป้องกันอุทกภัยซ้ำรอย!!!

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่พบกับเหตุการณ์น้ำท่วมร้ายแรง อีกหลายประเทศทั่วโลกก็เคยเผชิญกับภัยพิบัติเช่นนี้มาแล้ว แต่เขามีวิธีการที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นอีกเลย เราจะลองมาดูกันว่าประเทศอื่นๆเขาเตรียมความพร้อมกับการรับมือน้ำท่วมไว้ใน รูปแบบใดกันบ้าง

เนเธอร์แลนด์...ต้นแบบประเทศป้องกันภัยพิบัติทางน้ำ
ประเทศ เนเธอร์แลนด์ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ามีระบบป้องกันน้ำ ท่วมที่ดีที่สุดในโลก เนื่องจากแผ่นดินกว่าร้อยละ 26 ของประเทศ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล โดยพื้นที่ที่ว่านี้เป็นจุดเสี่ยงเจอน้องน้ำรุกราน และเป็นฐานเศรษฐกิจที่สร้างรายได้กว่า 70% ของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลจึงยอมทุ่มงบประมาณถึง 2.4 แสนล้านบาท ในการสร้าง Delta Work หรือพนังกั้นน้ำที่สามารถสกัดคลื่นสูงถึง 40 ฟุตจากระดับน้ำทะเลยาวถึง 600 กิโลเมตร อีกทั้งสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากอ่าว เพื่อควบคุมน้ำทะเลไม่ให้ทะลักเข้าแม่น้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน

อังกฤษ...ประตูระบายน้ำพันปี

ประเทศ อังกฤษจัดว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ตลอด 27 ปีที่ผ่านมา กรุงลอนดอน เมืองหลวงของประเทศไม่เคยเจอน้ำท่วมเลยสักครั้ง เนื่องจากรัฐบาลเมืองผู้ดียอมทุ่มทุน 1.3 พันล้านปอนด์ สร้างประตูระบายน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก (รองจากเนเธอร์แลนด์) ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเทมส์ โดยประตูดังกล่าวมีความยาว 520 เมตร สามารถกั้นคลื่นได้สูงสุด 200 ฟุต มีระบบเปิดปิดอัตโนมัติตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ ทั้งนี้คาดว่าประตูระบายน้ำมูลค่ามหาศาลนี้สามารถใช้งานได้นานเป็นพันปี

 

เยอรมนี...นำเสนอสะพานทางด่วนระบายน้ำ
ประเทศ เยอรมนีสร้างสะพานทางด่วนระบายน้ำ ซึ่งมีรูปร่างเป็นตัวยู ยกข้ามแม่น้ำเชื่อมต่อกับคลอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางระบายน้ำและช่วยผลักดันมวลน้ำส่วนเกินไป ที่ทะเล และยังสามารถเป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าได้อีกด้วย เรีบกว่าใช้ป้องกันน้ำท่วมและใช้ในการพาณิชย์ได้อย่างดีเยี่ยม

 

สิงคโปร์...เรียนรู้จะอยู่กับน้ำ

ประเทศ สิงคโปร์มีสภาพเป็นเกาะเล็กๆที่ล้อมไปด้วยน้ำจำนวนมหาศาล ดังนั้นระบบการจัดการน้ำจึงต้องพัฒนาอย่างขีดสุด เพราะเราแทบไม่เคยได้ยินข่าวว่าเกาะเล็กๆแห่งนี้เจอภัยพิบัติทางน้ำรุนแรง หรือป้องกันไม่ทัน โดยการจัดการน้ำที่ว่าก็คือ เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสามารถป้องกันพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับน้ำ ทะเลได้ และการออกแบบที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใครๆก็อยากมาชมด้วยตาสักครั้ง

 

เห็น ไหมว่าแต่ละประเทศมองเห็นถึงผลของการลงทุนที่มหาศาลว่ามันคุ้มค่า และสามารถป้องกันได้จริง แล้วทำไมประเทศไทยถึงไม่นำประสบการณ์ที่เคยพบเจอมาปรับและลองเปลี่ยนให้ ประเทศไม่เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นเป็นครั้งต่อไป...!!!

ข้อมูล : a day BULLETIN ISSUE 174

โดย: ไทยรัฐออนไลน์ไลฟ์สไตล์

28 พฤศจิกายน 2554, 14:00 น.

http://m.thairath.co.th/content/life/219749

 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทีมวิจัยสิทธิบัตรยาเผย บริษัทยารักษามะเร็งเม็ดเลือดแอบผูกขาดยาว

ทีมวิจัยสิทธิบัตรยาเผย บริษัทยารักษามะเร็งเม็ดเลือดแอบผูกขาดยาว

28 พ.ย.54 ภญ.ดร.อุษาวดี  มาลีวงศ์ ทีมวิจัย "สิทธิบัตรยาที่จัดเป็น evergreening patent ในประเทศไทย และการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้น" ได้เปิดเผยความคืบหน้าของการวิจัยพบว่า ยาตัวสำคัญๆ หลายตัวที่จำเป็นต่อการรักษาโรค มีคำขอสิทธิบัตรที่เข้า

ข่ายการขอรับสิทธิบัตรที่มีลักษณะ evergreening หรือเรียกว่า สิทธิบัตรที่มีลักษณะแบบไม่มีที่สิ้นสุด เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากได้รับสิทธิบัตรไป อุตสาหกรรมยาข้ามชาติจะได้สิทธิผูกขาดมากไปกว่าที่ควรได้ โดยในยาบางตัวพบว่าจะมีระยะเวลาการผูกขาดในตลาดยานานขึ้นถึง 10 ปี

"เราพบว่า ยา Imatinib หรือชื่อทางการค้าคือ ยา Glivec ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ก่อนหน้านี้อยู่ในกลุ่มการประกาศบังคับใช้สิทธิ (CL) มีคำขอรับสิทธิบัตรของยาตัวนี้ในประเทศไทยถึง 6 คำขอ ทั้งการใช้, การขอในรูป salt form และการขอในรูปของ polymorph  ซึ่งอยู่ในข่ายที่เป็น evergreening ชัดเจน หากเทียบกับสิทธิบัตรตัวตั้งต้นของสหรัฐอเมริกา ยาตัวนี้น่าจะหมดสิทธิบัตรในไทยในปี 2559 แต่หากคำขอสิทธิบัตรแบบ evergreening เหล่านี้ได้รับการอนุมัติ ผู้ขอจะได้สิทธิผูกขาดทำให้ไม่มีใครสามารถผลิตยาชื่อสามัญเข้ามาแข่งได้จนถึงปี 2569 ซึ่งมากกว่าสิทธิที่พึงจะได้ถึง 10 ปี อย่างไรก็ตาม คำขอเหล่านี้พ้นระยะเวลาที่จะนักวิจัยและภาคประชาชนจะสามารถทำคำคัดค้านได้ เพราะตามกฎหมายในบ้านเรานั้นกำหนดระยะเวลาในการคัดค้านก่อนการได้รับสิทธิบัตรไว้เพียง 90 วัน ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเปรียบเทียบกับกฎหมายสิทธิบัตรในต่างประเทศ เราจึงทำได้เพียงนำส่งข้อมูลให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาและแจ้ง

ต่อสาธารณชน"

ทางด้าน นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ทีมวิจัยฯ กล่าวว่า ยากลีเวคกำลังกลับมาเป็นที่สนใจของสาธารณะอีกครั้ง เพราะในวันพรุ่งนี้ (29) ศาลสูงสุดของอินเดียจะเริ่มการไต่สวนคดีที่ บ.โนวาร์ติสกล่าวหารัฐบาลอินเดียทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่แก้กฎหมายสิทธิบัตรให้เป็นไปตามองค์การการค้าโลก หลังจากที่สำนักงานสิทธิบัตรอินเดียปฏิเสธที่จะให้สิทธิบัตรกับคำขอที่เป็น evergreening ในยาตัวนี้ โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีนวัตกรรมที่สูงขึ้น 

"คดีนี้มีความสำคัญต่อการเข้าถึงยาของประชาชนทั่วโลก เพราะการยอมให้จดสิทธิบัตรในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย จะส่งผลกระทบมหาศาล โดยไปขัดขวางยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาด และนำไปสู่การเข้าไม่ถึงยาของประชาชนในที่สุด ไม่เพียงเท่านั้น ยังจำกัดการวิจัยเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าด้านเภสัชศาสตร์ซึ่งเป็นผลกระทบตั้งแต่ต้นน้ำด้วย ซึ่งนี้เป็นข้อสรุปที่สะท้อนในงานวิจัยเรื่องสิทธิบัตรที่ไม่มีวันสิ้นสุดที่ทำใน 5 ประเทศคือ อาร์เจนติน่า บราซิล โคลอมเบีย อินเดีย และแอฟริกาใต้ ของสถาบันเซาท์เซ็นเตอร์ สถาบันวิชาการด้านการค้าระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ซึ่งเพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้"

ทีมวิจัยฯกล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ได้มีการแถลงผลการวิจัยเบื้องต้นในคำขอสิทธิบัตรทางยาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเข้าข่าย evergreening ถึงร้อยละ 96 นั้น ทางเครือข่ายผู้ป่วยและทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เชิญทีมวิจัยไปให้ข้อมูลเพื่อทำความรู้ความเข้าใจกับเรื่องนี้มากขึ้น

"ทราบมาว่า ขณะนี้ทางสมาคมบริษัทยาข้ามชาติ หรือ พรีม่า ก็พยายามที่จะขอเข้าไปให้ข้อมูลกับกรมทรัพย์สินฯ ว่าสิ่งที่เขาขอนั้น เป็นนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่เดิม (Incremental Innovation) ซึ่งก็เป็นสิทธิของทางพรีม่าในการให้ข้อมูล แต่เราเชื่อว่าขณะนี้หน่วยราชการและผู้กำกับนโยบายมีความตระหนักถึงปัญหาการผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินเลย ก็ต้องฝากทั้งผู้กำกับนโยบายและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ เนื่องจากจะมีผลกระทบที่เกิดกับการเข้าไม่ถึงยาของประชาชนทั้งประเทศ"

http://www.prachatai3.info/journal/2011/11/38065

 

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000148359

"เจ้าแม่แห่งสายน้ำ" สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์21 พฤศจิกายน 2554 15:07 น.
ศาลเจ้าแม่ทับทิมเชิงสะพานซังฮี้
       เรื่องความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่คู่กับมนุษย์เรามาแต่ดึกดำบรรพ์ ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง คุ้มครอง จึงเกิดคติความเชื่อว่าหากมีการบนบานศาลกล่าวเซ่นไหว้บูชาแล้ว ก็จะพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อน
       
       ซึ่งในทุกด้านของชีวิตมนุษย์ล้วนมีความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งสิ้น เช่น ความเชื่อในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องโชคลาภ การงาน เรื่องการขอลูกคลอดบุตร เรื่องความรัก ครอบครัว หรือเรื่องทางน้ำ ซึ่งในช่วงนี้ดูจะมีน้ำเยอะเป็นพิเศษจนท่วมบ้านท่วมเมือง ก็มีความเชื่ออยู่หลากหลายเช่นกัน โดยความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับน้ำที่คนไทยเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็มีหลายองค์ เช่น
       
       เจ้าแม่ทับทิม
       
       เจ้าแม่หรือเทพธิดาแห่งท้องทะเลที่คุ้มครองผู้เดินทางทางเรือ ที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีก็คือ "เจ้าแม่ทับทิม" หรือ "เจ้าแม่มาจู่" หรืออีกหลายต่อหลายชื่อ เช่น "จุยบ่วยเนี่ยว" แปลว่าเจ้าแม่ชายน้ำ ชาวจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า "เทียนส่งเซ่งโบ้" แปลว่าเจ้าแม่สวรรค์ หรือ "ม่าจ้อโป๋" เป็นที่เคารพบูชาในหมู่ชาวเรือและชาวประมง คนแต้จิ๋วมักเรียก "เทียงโหวเซี๊ยบ้อ" ที่วัดสุทธิวรารามเรียก "โอวโต่วเซี๊ยม่า" ที่เขาสามมุขเรียก "ไห่ตังม่า" ส่วนคนไหหลำเรียกว่า "โผ่วโต้ว" หรือ "ตุ๊ยบ่วยเต๋งเหนี่ยง" ซึ่งชื่อเรียกเจ้าแม่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น
       
       ส่วนประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่ทับทิมนั้นก็มีอยู่หลายเรื่องราวด้วยกัน โดยตำนานที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากนั้นมีอยู่ว่า เจ้าแม่ทับทิมที่เมืองจีน เกิดที่เกาะเหมยโจว มณฑลฝูเจี้ยน หรือฮกเกี้ยน เป็นคนแซ่ลิ้ม ซึ่งภาษาจีนกลางออกเสียงว่า หลิน พ่อชื่อลิ้มเฮ้ง แม่ชื่อลิ้มยุ้ย เกิดเมื่อวันที่ 23 ค่ำ เดือน 3 ของจีน พ.ศ. 1503 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิซ่งไท่จู่ ปีเจี้ยนหลงที่หนึ่ง ในราชวงศ์ซ่งเหนือ
       
       ตอนที่ถือกำเนิดปรากฏมีแสงสว่างจ้าทั้งบ้าน มีกลิ่นหอมตลบอบอวล นางมิได้ร้องไห้เหมือนเด็กทั่วไป จึงได้ชื่อว่า ลิ้มมิก (คำว่า มิก จีนกลางออกเสียงว่า โม่ แปลว่า เงียบขรึม) เมื่อลิ้มมิกโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ฉลาดมาก สามารถอ่านหนังสือได้แตกฉาน ว่ายน้ำเก่ง ฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรม ถือศิลกินเจอย่างเคร่งครัด

เจ้าแม่ทับทิมพิชัย
       นอกจากนี้นางยังมีสัญชาตญาณในเรื่องของดินฟ้าอากาศดีมาก สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนสภาพอากาศได้ค่อนข้างแม่น แล้วได้ใช้สัมผัสพิเศษนี้เตือนชาวเรือเรื่อยมา อีกทั้งยังมีความรู้เรื่องแพทย์อย่างน่าอัศจรรย์ ได้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ชาวบ้านเสมอๆ
       
       วันหนึ่งบิดาและพี่ชายสี่คนออกเรือไปทะเล ลิ้มมิกห้ามไว้เพราะนางรู้ว่ากำลังจะเกิดพายุใหญ่ แต่พวกเขาไม่เชื่อ จนต้องเผชิญกับพายุร้าย เรือล่มต้องลอยคอในทะเล ขณะนั้นนางกำลังทอผ้าอยู่และทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบิดาและพี่ชายจากสมาธิพลังจิตที่สูงส่ง ลิ้มมิกจึงใช้กระแสจิตส่งไปช่วยพี่ชายและบิดาให้พ้นภัย
       
       นอกจากนี้นางได้ช่วยชาวเรือให้พ้นภัยหลายต่อหลายครั้ง โดยโยนผ้าขาวขึ้นไปในอากาศ จนชาวบ้านพากันถามว่าทำทำไม นางบอกว่ากำลังช่วยชาวเรือที่ประสพเคราะห์ เมื่อเรือเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย ชาวประมงต่างกล่าวกันว่า ได้มีผ้าขาวมาตวัดเรือของพวกตนแล้วดึงให้พ้นคลื่นร้าย
       
       จนมาในวันที่ 9 ค่ำ เดือน 9 ตามจันทรคติจีน พ.ศ.1530 ลิ้มมิกเดินขึ้นไปบนยอดเขาเหมยเฟิง นางบอกมารดาว่าจะขึ้นสวรรค์แล้ว ชาวบ้านต่างเห็นแสงสีรุ้งสวยสดพร้อมเสียงดนตรีไพเราะจากสวรรค์ ซึ่งในด้านของสาเหตุการตายนั้นก็มีหลายต่อหลายตำนานเช่นกัน
       
       หลังจากที่นางได้จากไปแล้ว ก็ยังคงให้ความช่วยเหลือคนเดินเรือ ชาวประมง หรือพ่อค้าชาวเรือตลอด ชาวบ้านเกาะเหมยโจวจึงช่วยกันสร้างศาลเจ้าหลังเล็กๆขึ้นเพื่อกราบไหว้ขอบคุณที่ได้ช่วยเหลือให้พ้นภัย พร้อมทั้งยกย่องให้เป็นเทพ เรียกกันว่า "เทพธิดาแห่งสมุทร" ต่อมาชาวเรือย่านชายฝั่งทะเลจีนที่มีการติดต่อค้าขายและอาชีพประมงต่างก็สร้างศาลเจ้าขึ้น และเรียกขานนามตามภาษาถิ่นของพวกตน
       
       โดยก่อนออกจากท่าเรือต่างก็บนบานขอให้เจ้าแม่ช่วยคุ้มครองพิทักษ์พวกตน เมื่อพวกตนอยู่ท่ามกลางพายุร้ายในทะเล ต่างสวดมนตร์ขอให้พ้นภัย กล่าวกันว่าพวกเขาได้เห็นเจ้าแม่มาจู่ในชุดสีแดงปรากฏขึ้นที่เสากระโดงเรือ แล้วพายุคลื่นลมก็สงบ
       
       สำหรับในประเทศไทยเรานั้นนิยมตั้งศาลเจ้าแม่ทับทิมอยู่มากมายเช่นกัน โดยศาลเจ้าแม่ทับทิมในกรุงเทพฯที่ผู้คนนิยมไปไหว้มาก เช่น ศาลเจ้าแม่ทับทิม ตรงพาหุรัด (เทียน โหว เซี้ย บ้อ), ศาลเจ้าแม่ทับทิม บางขุนเทียน (เทียน โหว เซี้ย บ้อ), ศาลเจ้าแม่ทับทิม บางโพ (เทียน โหว เซี้ย บ้อ), ศาลเจ้าแม่ทับทิม ซอยโกวบ้อ ตากสิน (เทียน โหว เซี้ย โกว), ศาลเจ้าแม่ทับทิม บางซื่อ (เจี้ย สุน เซี้ย เนี้ย), ศาลเจ้าแม่ทับทิม วัดเลียบ (จุ้ย บ้วย เซี้ย เนี้ย), ศาลเจ้าแม่ทับทิม เชิงสะพานซังฮี้ (จุ้ย บ้วย เซี้ย เนี้ย) เป็นแบบไหหลำ, ศาลเจ้าแม่ทับทิม ดาวคะนอง (จุ้ย บ้วย เซี้ย เนี้ย)
       
       ส่วนในต่างจังหวัดก็เช่น ศาลเจ้าแม่ทับทิม อ.เมือง จ.พิษณุโลก, ศาลเจ้าแม่ทับทิม ปากน้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์, ศาลเจ้าแม่ทับทิม ปากน้ำดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี, ศาลเจ้าแม่ทับทิม จ.พิจิตร เป็นศาลเจ้าแม่ทับทิมเก่าแก่ มีอายุ 100 กว่าปี, ศาลเจ้าแม่ทับทิม สวรรคโลก จ.สุโขทัย, ศาลเจ้าแม่ทับทิม อ.พิชัย และ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์, ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์, ศาลเจ้าแม่ทับทิม อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
       
       ศาลเจ้าแม่ทับทิม ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี, ศาลเจ้าแม่ทับทิม ต.ท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร, ศาลเจ้าแม่ทับทิม ถ.ทิพย์ช้าง อ.เมือง จ.ลำปาง, ศาลเจ้าแม่ทับทิม (มูลนิธิจ้าวเองสือปัตตานี) ถ.ปรีดา อ.เมือง จ.ปัตตานี, ศาลเจ้าซัมเทียนเฮวกึ๋ง (ศาลเจ้าแม่ย่านาง สมาคมชาวฟูโจว ) ถ.กระบี่ ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต, ศาลเจ้าม่าจ้อโป๋ จ.พังงา, ศาลเจ้าพ่อปึงเถ่ากงม่า เจ้าแม่ทับทิม ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี, ศาลเจ้าแม่ทับทิม ถ.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นต้น

ศาลเจ้าแม่สองนาง(จากบล๊อคOKnation Kho)
       เจ้าแม่สองนาง
       
       แม่น้ำโขงในประเทศไทยเป็นเส้นแบ่งเขตแดนของประเทศไทยและประเทศลาว โดยคนไทยและคนลาวมีความเชื่อเกี่ยวกับแม่น้ำโขงว่ามี"พญานาค" หรือ "งู" ขนาดใหญ่ที่มีฤทธิ์มากอาศัยอยู่ โดยเทพเจ้าทางน้ำที่ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขงนับถือกันมากก็คือ "เจ้าแม่สองนาง" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น งู หรือ พญานาค 1 คู่
       
       ตำนานของ "เจ้าแม่สองนาง" เล่าไว้ว่า เจ้าแม่สองนางเป็นลูกกษัตริย์อยู่ประเทศลาว องค์พี่ชื่อมัคชี องค์น้องชื่อศรีสุวรรณ พอบ้านเมืองเกิดสงคราม เจ้าแม่สองนางได้ขนสมบัติข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น นั่งเรือพร้อมทหาร สนมบริวารที่เหลือล่องลงมาตามลำแม่น้ำโขง พอมาถึงท่าน้ำวัดหายโศกซึ่งในสมัยนั้นเป็นห้วยน้ำและไหลเชี่ยวแรงเป็นน้ำวน เรือของคณะเจ้าแม่สองนางจึงล่มลงกลางลำแม่น้ำโขง ทำให้คณะของเจ้าแม่สองนางเสีย
       ทั้งหมดชีวิต
       
       ต่อมาวิญญาณเจ้าแม่สองนางได้มานิมิตเข้าฝันเจ้าอาวาสวัดหายโศกองค์แรกว่าให้ตั้งศาลเพียงตาให้ เพราะอยากอยู่ที่นี่ พอรุ่งเช้าเจ้าอาวาสจึงได้นำชาวบ้านมาทำศาลไม้ทรงไทย 2 หลังคู่กันที่ปากห้วย และชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า "ศาลเจ้าแม่สองนาง" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ศาลเจ้าแม่สองนางริมน้ำโขง
       ในสมัยนั้นเจ้าแม่สองนางจะแปลงร่างเป็นงูหรืออพญานาค 2 ตน ถ้าวันไหนเหตุการณ์ไม่ปกติ จะปรากฏการณ์มีงูมาไล่ชาวบ้านให้ขึ้นจากน้ำโขง ถ้าชาวบ้านเห็นงูก็จะรู้ว่าเป็นเจ้าแม่สองนางได้มาบอกเหตุให้ขึ้นฝั่ง ถ้าคนไหนไม่เชื่อยังคงเล่นน้ำโขงอยู่ อีกไม่นานก็จะมีคนจมน้ำตายหรือหายไปกับสายน้ำโขง ดังนั้นชาวบ้านและผู้คนในละแวกนั้นจึงเชื่อและนับถือเจ้าแม่สองนางเป็นอย่างมาก
       
       ทั้งคนไทยและคนลาวที่ทำมาหากินตามลำน้ำโขง จึงได้ตั้งศาลเจ้าแม่สองนางตามลำน้ำโขงตลอดสาย ก่อนจะเดินทางข้ามแม่น้ำโขง ก็จะร้องบอกเจ้าแม่สองนางให้รู้และช่วยปกป้องรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ จนกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดหนองคายในปัจจุบัน
       
       ต่อมาหลังจากบุญบั้งไฟเดือน 7 จะมีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนาง ในวันนั้นจะมีร่างทรงลงมาประทับร่างและจะมีการรำดาบ และถวายเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ โดยในปัจจุบัน "ศาลเจ้าแม่สองนาง" ตั้งอยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ที่วัดหายโศก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย , อ.โพนพิสัย ที่ปากห้วยหลวง, ที่บ้านจอมนาง และที่ จ.บึงกาฬ หน้าโรงพยาบาลบึงกาฬ

ศาลพระนาง จ.กระบี่
       พระนาง
       
       ข้ามมาทางภาคใต้ ที่จังหวัดกระบี่ก็มีตำนาน "พระนาง" ที่ได้เล่าขานต่อๆกันมาว่า แต่ก่อนมีหมู่บ้านชาวประมงริมทะเล 2 หมู่บ้าน แม้มีอาณาเขตติดกันแต่ไม่ถูกกัน หมู่บ้านแรกมีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อวาปราบ มีลูกชายชื่อบุญ อีกหมู่บ้านมีหัวหน้าชื่อยมดึง ไม่มีลูก ยมดึงและภรรยาจึงได้ไปบนบานขอลูกสาวจากพญานาคสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งท้องทะเล โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าได้ลูกสาวสมใจจะต้องแต่งงานกับลูกชายของพญานาค และในที่สุดครอบครัวยมดึงก็ได้ลูกสาวชื่อบุญ
       
       ต่อมาเมื่อบุญโตเป็นสาว ก็เป็นสาวสวยสะพรั่งเป็นเบญจกัลยาณี มีทั้งมนุษย์ เทพารักษ์ ยักษ์ นาคหมายปอง แต่นางได้มอบใจรักให้บุญ ลูกชายของวาปราบไปแล้ว ทั้งสองผ่านอุปสรรคมากมายจนทำให้ เหล่าเทพารักษ์ ยักษ์ นาค และครอบครัวของทั้ง 2 ที่ไม่ค่อยจะถูกกัน ต่างเห็นใจในความรักที่แน่วแน่จึงยินยอมให้แต่งงานกัน
       
       ความรู้ไปถึงพญานาคที่เคยสัญญา ก็เกิดความโกรธเกรี้ยวแผลงฤทธิ์ในงานแต่งงานของบุญและนาง ใครห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนฤๅษีซึ่งบำเพ็ญตนในถ้ำใกล้เคียงต้องออกมาปราบ แต่ก็ไม่เป็นผล สุดท้ายฤๅษีจึงสาปทุกอย่างให้กลายเป็นหิน แต่นางขอยอมรับผิดขอให้สาปนางคนเดียว ฤๅษีเห็นใจจึงได้ให้นางบำเพ็ญตนจนสิ้นอายุขัยจึงค่อยกลายเป็นหิน ส่วนเรือนหอก็กลายเป็นถ้ำพระนาง

บูชาพระนางด้วยศิวลึงค์
       ด้วยความที่นางบำเพ็ญตนทำความดีช่วยเหลือผู้คน จนกลายเป็นเทวนารี เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วก็ยังสถิตอยู่ที่ถ้ำพระนาง คอยดูแลปกปักษ์รักษาผืนดินและผืนน้ำมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันก็ยังมีผู้คนนิยมมาบนบานศาลกล่าวที่ "ศาลพระนาง" ซึ่งตั้งอยู่ในถ้ำพระนาง ทั้งในเรื่องของการเดินเรือ การหาปลา ขอบุตร เป็นต้น และนิยมบูชาพระนางด้วยศิวลึงค์
       
       พระแม่ธรณีบีบมวยผม
       
       อีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความเชื่อมาจากชมพูทวีป การก้มกราบแผ่นดินหรือการบูชา "แม่พระธรณี" นั้น อยู่กับมนุษย์อุษาคเนย์มาช้านาน โดยเฉพาะในอินเดียและแผ่ขยายมายังประเทศไทย โดยเราบูชาพระแม่ธรณีเพื่อให้แผ่นดินมีความสงบสุขและร่มเย็น เพราะเชื่อว่า แม่พระธรณีเป็นเทพผู้คุ้มครองแผ่นดิน
       
       โดยตำนานพระแม่ธรณี มีปรากฏในพุทธประวัติความว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่โพธิบัลลังก์ ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามารโดยทรงบีบน้ำจากมวยผม เพื่อแสดงให้เห็นถึงกุศลที่พระพุทธเจ้าได้กระทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปรากฏว่าน้ำที่กรวดลงบนพื้นแล้วแม่ธรณีรับไว้นั้นมากถึงขั้นเป็นมหาสมุทร พัดเอาเหล่าพญามารกระจัดกระจายหายไป ต้นเหตุนี้ทำให้เกิดพระพุทธรูปในปางมารวิชัยขึ้นในกาลต่อมา

พระแม่ธรณีบีบมวยผมที่ข้างสนามหลวง
       แม่พระธรณีในศิลปะไทยที่มีปรากฏอยู่ จะทำเป็นรูปหญิงสาว รูปร่างอวบใหญ่ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่าแต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือ มวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผม แสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผม
       
       สำหรับเทวาลัยของพระแม่ธรณีบีบมวยผมที่โด่งดังได้แก่ "เทวาลัยพระศรีวสุนธรา" ที่ตั้งอยู่บริเวณถนนราชดำเนินใน ใกล้โรงแรมรัตนโกสินทร์และสะพานผ่านพิภพลีลา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับสนามหลวงมายาวนาน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
       
       ซึ่งความเชื่อทั้งหมดนี้ แม้จะไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จเพียงไร แต่ผลจากความเชื่อนี้ทำให้ผู้ที่เชื่อเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น เพราะมีสิ่งที่เชื่อถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว ทั้งยังทำให้เกิดกำลังใจและพลังที่จะต้องสู้กับอุปสรรค หากรู้สึกว่าตนเองมีสิ่งที่เชื่อถือคุ้มครอง และยังทำให้เกิดความสุขใจหากได้ปฏิบัติตามความเชื่อนั้นอีกด้วย

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000148359

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การ์ตูน อรุณ วัชระสวัสดิ์ ล้อ"พล.ต.อ.ประชา" ชะตากรรมถูกลอยแพ กลางฝูงฉลาม ปชป. เกาะถุงยังชีพ (รั่ว)

 

การ์ตูน อรุณ วัชระสวัสดิ์ ล้อ"พล.ต.อ.ประชา" ชะตากรรมถูกลอยแพ กลางฝูงฉลาม ปชป. เกาะถุงยังชีพ(รั่ว)

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 12:45:34 น.





การ์ตูน คิวคน   โดยอรุณ วัชระสวัสดิ์   มติชน วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
 

เคหะธนฯยังอ่วม ยุงชุม-น้ำเน่า ท่วมสูงกว่าเมตร

เคหะธนฯยังอ่วม ยุงชุม-น้ำเน่า ท่วมสูงกว่าเมตร

สถานการณ์น้ำท่วมที่ชุมชนเคหะธนบุรี โครงการ 1 ถนนพระราม 2 ซ.69 ยังอ่วม! ระดับน้ำสูง 60-120 ซม.พบชาวบ้านเริ่มป่วยน้ำกัดเท้า-ท้องร่วง เจ้าหน้าที่เตรียมนำปลาหางนกยูงปล่อยลงน้ำ แก้ปัญหายุงชุม คนขับสามล้อถีบโอด น้ำท่วมรายได้หด...

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 21 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมภายในชุมชนเคหะธนบุรี โครงการ 1 ถนนพระราม 2 ซอย 69 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน พบว่าน้ำยังท่วมบนพื้วผิวการจราจรตลอดซอย ตั้งแต่บริเวณด้านข้างห้างสรรพสินค้าโลตัส แต่ยังไม่มีล้นขึ้นบนถนนพระราม 2 โดยความสูงของน้ำที่ท่วมนั้น มีความต่างกันตามสภาพของพื้นดิน อยู่ที่ระหว่าง 60–120 เซนติเมตร รถจยย. และรถยนต์ขนาดเล็กสามารถสัญจรได้ สามารถเข้าซอยได้ถึงปากซอยพระราม 2 ที่ 69 แยก 3 เท่านั้น หากประชาชนต้องการสัญจรเข้าไปต่อ จะต้องเดินบนสะพานไม้ หรือไม่ก็ต้องรอเรือกับรถบรรทุกของทหารและตำรวจที่มีให้บริการอยู่ตามจุดนัดหมายภายในซอย นอกจากนี้ยังพบว่า จุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะ ซึ่งทางกรุงเทพมหานครเคยกำหนดไว้ บริเวณด้านข้างห้างสรรพสินค้าโลตัส ได้แปรสภาพเป็นจุดเทียบเรือรับจ้าง และเรือชาวบ้านที่เดินทางออกมาจับจ่ายซื้อของไปกักตุนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จากการสอบถาม พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม ซึ่งตั้งศูนย์ ศปก.สน.ท่าข้าม อยู่ในชุมชน กล่าวว่า น้ำเริ่มสร้างความเสียหายภายในชุนชนแห่งนี้มาตั้งแต่ประมาณวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา ช่วงนั้นระดับน้ำบริเวณแยกซอยที่ 21, 22 และ 23 วิกฤติสูงสุดถึง 1.50 เมตร ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 3,500 ครัวเรือน เกือบ 20,000 ชีวิต ต้องเดือดร้อน อพยพออกจากพื้นที่กันจ้าละหวั่น แต่ยังมีบางส่วนที่ไม่ได้ละทิ้งบ้านไปไหน ก็พยายามปรับสภาพอยู่กับน้ำให้ได้ จึงจะเห็นว่าตอนนี้ลูกเด็กเล็กแดงสามารถพายเรือ พาพ่อกับแม่หรือญาติผู้ใหญ่ออกมาทำธุระกันได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว สำหรับสถานการณ์ขณะนี้น้ำได้เริ่มลดลงแต่ยังลดไม่มาก จุดที่เคยวิกฤติสูงสุด เหลืออยู่ประมาณ 1.20 เมตร ซึ่งรถชาวบ้านก็ยังใช้สัญจรผ่านไม่ได้อยู่ดี ขณะที่มีชาวบ้านบางส่วนเริ่มป่วยจากโรคน้ำกัดเท้า และเด็กๆท้องร่วงกันมากขึ้น สังเกตได้จากจำนวนชาวบ้านที่เดินทางมาพบแพทย์ รพ.บางปะกอก 8 อินเตอร์ฯ ที่อาสามาประจำอยู่ที่เต็นท์ ศปก.สน.ท่าข้าม มากขึ้นทุกวัน

"ส่วนจะมีโรคระบาดชนิดอื่นตามมาอีกหรือไม่ ตนคงตอบไม่ได้ แต่เริ่มมีบางรายที่เป็นไข้สูง จ่ายยาพาราเซตามอลไปทานแล้วไข้ไม่ลด ต้องส่งตัวไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลแล้ว 2-3 ราย โดยตนเชื่อว่าชาวชุมชนเคหะธนบุรี โครงการ 1 ทั้ง 6 ส่วน จะต้องทนอยู่กับน้ำในลักษณะนี้ไปอีกอย่างต่ำ 1 เดือน ซึ่งน้ำที่เน่าเสีย ก็จะมียุงลายพาหนะนำโรคไข้เลือดออกจำนวนมากมาอยู่กับชาวบ้านด้วย ตนจึงประสานงานกับ กต.ตร.สน.ท่าข้าม ให้ช่วยนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหางนกยูง ซึ่งหาซื้อได้ง่าย มีราคาถูก จำนวน 500 คู่ มาดำเนินการแจกจ่ายให้ชาวบ้านชุมชนเคหะธนบุรี ส่วนที่ 1 นำไปปล่อยตามใต้ถุนบ้าน เป็น การนำร่องก่อน คาดว่าปลาเหล่านี้น่าจะช่วยกินลูกน้ำ ลดปริมาณของยุงไปได้เยอะ ประกอบกับปลาหางนกยูงเป็นปลาที่อึด ตายยาก แพร่พันธุ์รวดเร็วอยู่ในน้ำได้ทุกสภาพ หากหลังจากนี้ ผู้มีจิตศรัทธาอยากนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลามาบริจาค ตนก็น้อมรับ จะได้นำไปช่วยเหลือชาวบ้านให้ทั่วถึงต่อไป" พ.ต.อ.ยุคลเดช กล่าว

ขณะที่นายสุพงศ์ โชติพันธุ์ ประธานชุมชนเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วนที่ 1 กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยได้รับการสนับสนุนอีเอ็มบอล จากกระทรวงสาธารณสุขมาแล้วประมาณ 1,000 ลูก แต่ขณะนี้ได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านนำไปโยนรอบๆ บ้านเรือนจนหมดแล้ว คาดว่าปริมาณอีเอ็มบอลที่ได้รับมา อาจยังไม่เพียงพอ จึงประสานให้สมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเดินทางมาเป็นวิทยากร อบรมวิธีทำอีเอ็มบอลให้ชาวบ้าน นำไปผลิตช่วยเหลือตัวเอง ถือเป็นการทำวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยความรู้ที่ได้จากภาครัฐ ก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่ใครอยากทำก็ลงมือทำ ต่างคนต่างนำหัวเชื้อคนละสูตรกันมาปั้นเป็นอีเอ็มบอลเหมือนในอดีต ซึ่งตนเห็นว่าวิธีการสารพัดสูตรแบบเก่าๆ มันอาจเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แย่ลงยิ่งขึ้นได้

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังสังเกตเห็นชาวบ้านกลุ่มหนี่ง นำสามล้อถีบแบบโบราณที่มีอยู่ตามต่างจังหวัดออกมาปั่นรับจ้างประชาชนภายในซอยพระราม 2 ที่ 69 อีกด้วย จากการสอบถาม นายทวีพงษ์ จุดศรี อายุ 24 ปี ชาว จ.ขอนแก่น โชเฟอร์สามล้อถีบ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่น้ำยังไม่ท่วมซอย จะมีวินสามล้อถีบ ที่เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านประมาณ 100 คัน แต่พอน้ำมา ปรากฏว่าโชเฟอร์ทุกคันจำเป็นต้องอพยพ ทำให้เหลืออยู่แค่ประมาณ 10 คัน ที่ยังอยู่บริการชาวบ้านต่อ โดยเฉพาะตนที่ต้องหยุดปั่นไปกว่า 1 สัปดาห์ ทำให้ขาดแคลนรายได้ เมื่ออดข้าวไม่ไหว ก็ต้องออกมาสู้ ขณะนี้แม้น้ำจะลดลงบ้างแล้ว แต่สามล้อถีบก็สามารถวิ่งให้บริการได้เพียงระยะสั้นๆ จากปากซอยพระราม 2 ที่ 69 ถึงหน้าสถานีดับเพลิงบางขุนเทียน ระยะทางแค่ประมาณ 500 เมตรเท่านั้น บางช่วงก็ยังต้องลงจูงลดเพื่อเข็นเข้าไปส่งผู้โดยสาร เพราะระดับน้ำสูงทำให้ปั่นไม่ไหว ส่วนค่าบริการจากเดิม 10 บาท พวกตนคิดเพิ่มอีกเท่าตัว เป็น 20 บาทเท่านั้น ชาวบ้านบางรายเห็นแล้วสงสาร ก็จะมีสินน้ำใจเพิ่มให้รายละ 10-20 บาท จากราคาปกติ.

 

โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์

21 พฤศจิกายน 2554, 17:44 น.

http://m.thairath.co.th/content/region/218141

 

ขสมก.ยังคงเดินรถโดยสารธรรมดาเฉพาะกิจ บริการฟรี

 ขสมก.ยังคงเดินรถโดยสารธรรมดาเฉพาะกิจ บริการฟรี ดังนี้ 
-วัชรพล-สุขาภิบาล 5-ออเงิน-ตลาดวงศกร-สายไหม-คปอ.
-บางเขน-ศูนย์ราชการ, เลียบทางด่วนรามอินทรา-ลาดพร้าว-BTS-หมอชิต, 
-ฟิวเจอร์-คลอง 6, 
-บางเขน-สะพานใหม่, 
-มีนบุรี-หมู่บ้านบัวขาว, 
-มีนบุรี-วัดทองสัมฤทธิ์-มีนบุรี
-มีนบุรี-วัดลำต้อยติ่ง-วัดใหม่กระทุ่มล้ม-ขนส่งพื้นที่ 4-ปากทางถนนสุวินทวงศ์, 
-ฉลองกรุง-แอร์พอร์ตลิงค์, 
-ห้างแฟชั่นไอส์แลนด์-วิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี, 
-มีนบุรี-ถนนประชาราษฏร์อุทิศ-หนองจอก (คู้ขวา), 
-มีนบุรี-สน.นิมิตใหม่, 
-มีนบุรี-นิมิตใหม่-ลำลูกกา-กรมการปกครอง, 
-มีนบุรี-ลำหิน-วัดสามง่าม, 
-มีนบุรี-หมู่บ้านเทียนทอง (คู้ซ้าย), 
-มีนบุรี-ถนนหทัยราษฎร์-หมู่บ้านเคซี 8, 
-มีนบุรี-คลองสามวา-หมู่บ้านสัมมากร, 
-มีนบุรี-มหานคร-หนองจอก, 
-อนุสาวรีย์ชัยฯ-สนามบินสุวรรณภูมิ, 
-โรงเบียร์ฮอลแลนด์-สายใต้ใหม่, 
-โลตัสพระราม 2 (ซ.69)-ศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน, 
-กระทรวงศึกษาธิการ-สะพานพระราม 8-ทางยกระดับลอยฟ้า-(บรมราชชนนี) กลับรถบนสะพาน 
ตั้งแต่วันนี้ (21 พ.ย.54) เป็นต้นไป ติดต่อ Call Center 184

วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ (20 พ.ย. 54 : 23.40 น.)

(20 พ.ย. 54 : 23.40 น.) อ.เสรี ศุภราทิตย์, คุณดาริน ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์น้ำ ถ.เพชรเกษม,
สวนส้มโอ อ.สามพราน จ.นครปฐม

ศปภ.ลงพื้นที่'ดอนเมือง'เก็บข้อเท็จจริงเสนอ'ประชา' พิจารณาพรุ่งนี้

ศปภ.ลงพื้นที่'ดอนเมือง'เก็บข้อเท็จจริงเสนอ'ประชา' พิจารณาพรุ่งนี้

ศปภ.รับข้อเสนอของ ชาวดอนเมือง ที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง เตรียมลงพื้นที่เก็บข้อมูลเสนอ พล.ต.อ.ประชา พรุ่งนี้ ส่วนกรณี ปตร.คลองมหาสวัสดิ์เรียกกทม.ถกช่วงบ่าย หาข้อยุติเปิดเพิ่มหรือไม่

วันที่ 21 พ.ย. พล.ต.อ. พงศ์พัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร.และโฆษก ศปภ. กล่าวกับทีมข่าว"ไทยรัฐออนไลน์"ว่า ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ศปภ.ได้รับข้อเสนอของประชาชนเขตดอนเมือง ในเรื่องการเปิดแนวแนวคั้นกันน้ำ หรือบิ๊กแบ๊ก รวมไปถึงมาตรการการเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยที่เหมาะสม โดยมอบหมายให้ดร. อานนท์ สนิทวงค์ ณ อยุธยา เลขาคณะกรรมบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่สาธารณภัยภัยร้ายแรง ลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริง หาและรวบรวมหลักฐาน รวมถึงหาวิธีการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่เขตดอนเมือง  หลักสี่ และจ.ปทุมธานีบางส่วน ในวันพรุ่งนี้ เบื้องต้น ดร.อานนท์ กล่าวว่า ระดับน้ำด้านนอกคันกั้นและบิ๊กแบ็กจะค่อยๆลดระดับลดลงในอีกประมาณ 7 วันนับจากนี้้

พล.ต.อ.พงษ์พัศ กล่าวอีกว่า นี้เมื่อได้ข้อเท็จจริงและข้อมูลทั้งหมดแล้ว ตนจะได้นำเสนอไปยัง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ. เพื่อดำเนินการต่อไป ว่าจะสามารถกระทำได้ตามข้อเสนอที่กลุ่มประชาชนเรียกร้องได้มากน้อยเพียงใด เบื้องต้น ศปภ. เห็นด้วยที่จะให้มีการพิจารณาเยียวยาความเสียหายของทรัพย์สินบ้านเรื่องของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องยอมเสียสละเป็นทางน้ำผ่านและท่วมขังนาน มากกว่าครอบครัวละ 5,000 บาท

 

อย่างไรก็ตาม ส่วนกรณีที่มีกลุ่มประชาชน ชาวจังหวัดนนทบุรี มายื่นข้อเรียกร้องให้เปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์เพิ่มจาก 50ซ.ม.เป็น 1ม.นั้น ทางศปภ. จะได้มีการประชุมร่วมกับทาง กทม. ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในช่วงเวลา 13.00น. วันนี้  ที่ศูนย์อำนวยการ ศปภ. อาคารเอ็นเนอร์ยีคอมเพล็ก ถ.วิภาวดีรังสิต เพื่อดูว่า ทาง กทม.จะสามารถดำเนินการได้ตามข้อเรียกร้องของชาวจังหวัดนนทบุรีหรือไม่เพียงใด ซึ่งขอให้พี่น้องประชาชนยอมรับด้วยหากข้อเรียกร้องที่เสนอมา ทางเจ้าหน้าที่อาจไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด

 

ทั้งนี้ช่วงเช้าที่ผ่านมา  ตัวแทนชาวบ้านเขตดอนเมืองกว่า 10 คน นำโดยนายแทนคุณ จิตอิสระ 

อดีตผู้สมัครส.ส.กทม.เขตดอนเมือง พรรคประชาธิปัตย์ และนายพงษ์เทพ ศิริทรัพย์ ชาวบ้านในพื้นที่เขตดอนเมือง เดินทางยื่นหนังสือเพื่อขอให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ใต้คลองรังสิต หลักหก เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาอุทกภัยมาเป็นระยะเวลานานกว่า 1 เดือน ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำในพื้นที่ยังมีคงมีระดับสูง ตั้งแต่ 1 – 2 เมตร และบางพื้นที่น้ำเริ่มเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นเป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องเดือดร้อน ทั้งการอยู่อาศัย การเดินทาง และการใช้ชีวิตประจำวัน จึงขอให้ศปภ.เร่งดำเนินการระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ออกโดยเร็ว

 

โดย: ไทยรัฐออนไลน์

21 พฤศจิกายน 2554, 14:15 น.

http://m.thairath.co.th/content/region/218111


วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Apple Siri Doesnt Understand Asian FOB


Apple's new iPhone 4S feature Siri is cool and all, but she doesn't seem to understand FOB very well
. . .actually, she has no clue what the hell we're trying to say.

Twitter: http://twitter.com/2asiandudes
Facebook: http://facebook.com/2asiandudes

ปริศนาคาใจฝั่งตะวันตกทำไมน้ำท่วม

ปริศนาคาใจฝั่งตะวันตกทำไมน้ำท่วม

  • 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา 12:45 น. |

  •  

ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม ,


ไขคำตอบกับคำถามคาใจ "น้ำท่วมฝั่งตะวันตก" ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ไม่ว่าจะเป็นปี2538 หรือ 2549

โดย...สิทธิณี ห่วงนาค

จากสถิติน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 และปี 2549 ไม่เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในฝั่งตะวันตกมาก่อน

พื้นที่น้ำท่วมจะจำกัดเฉพาะในพื้นที่ สุพรรณบุรี บางเลน นครชัยศรี อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ ไม่ลุกลามจนเกิดความเสียหายใหญ่หลวงอย่างที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน

เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมฝั่งตะวันตกตั้งแต่ จ.สุพรรณบุรี นนทบุรี กทม. ไล่ลงไปถึง จ.สมุทรสาคร ได้อย่างไร

นี่เป็นคำถามที่คาใจของหลายคนโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ เพราะเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมาย

มันเกิดอะไรขึ้น !!!!

เมื่อมีคำถามคาใจก็ต้องตามล่าหาความจริงว่า น้ำมาจากไหน มาได้อย่างไร

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปีนี้ เกิดปัญหาภัยแล้งระดับน้ำในเขื่อนภูมิพล ซึ่งเป็นแหล่งเก็บน้ำหล่อเลี้ยงการเกษตรกรรมหลายจังหวัด ลดต่ำลงจนเข้าสู่ภาวะวิกฤตจนเห็นก้นอ่าง

แต่กลางเดือน มิ.ย. อากาศเริ่มแปรปรวน พายุไหหม่าพัดเข้ามาทางภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

อาทิ เขื่อนภูมิพล วันที่ 1 ก.ค. 2554 มีปริมาณน้ำเพิ่มเป็น 7,745 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือ 58% เขื่อนสิริกิติ์ 6,079 ล้าน ลบ.ม. หรือ 64% 
หลังจากนั้นวันที่ 31 ก.ค. พายุนกเตนขึ้นประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ทางรถไฟในภาคเหนือหลายสายหยุดให้บริการ น้ำท่วม จ.ลำปาง แพร่และน่าน

จากนั้นประมาณต้นเดือน ส.ค. พายุหมุ่ยฟ้าตามเข้ามาอีกระลอก ประเทศไทยมีน้ำท่วมเป็นวงกว้างกว่า 40 จังหวัด ปริมาณน้ำทั้งหมดส่วนหนึ่งไหลลงเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ บางส่วนท่วมขังในพื้นที่บางระกำ และขณะนั้น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้ลงพื้นที่และผุดบางระกำโมเดล เกิดขึ้นเป็นโมเดลชุดใหม่ของไทย

พร้อมกันนั้นนายกฯ คนใหม่ก็ได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน ปริมาณน้ำในเขื่อนวันที่ 31 ส.ค. เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 10,436 ล้าน ลบ.ม. หรือ 78% น้ำเข้าเขื่อน 93 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 28 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 8,920 ล้าน ลบ.ม.หรือ 94%

จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมชลประทาน โดย วีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีขณะนั้น ได้คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำเหนือจำนวนมากลงมายังพื้นที่ภาคกลาง ประกอบกับต้นเดือน ก.ย. กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะมีฝนตกในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง จึงได้แจ้งเตือนผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ในภาคกลางทั้งหมด ตั้งแต่ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ให้เร่งเก็บเกี่ยวข้าวก่อนวันที่ 10 ก.ย. เนื่องจากฝนจะเริ่มตกตั้งแต่ 3 ก.ย. ฝนจะตกหนักผลผลิตจะเสียหาย

จากนั้นกรมชลฯ จะปล่อยน้ำเข้าทุ่ง โดยจะมีการพร่องน้ำจากเขื่อนประมาณวันละ 20 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเตรียมรับน้ำก้อนใหม่

แต่สถานการณ์ไม่เป็นตามคาด เพราะชาวบ้านบางส่วนเกี่ยวข้าวได้ บางส่วนเกี่ยวข้าวไม่ได้ การระบายน้ำลงทุ่งขยายเวลาออกไปอีกเกือบ 10 วัน ในขณะที่วันที่ 28 ก.ย.-5 ต.ค. มีพายุเข้าไทยติดกันถึง 3 ลูก คือ พายุไห่ถาง เนสาด นาลแก

อิทธิฤทธิ์ของพายุทั้งสามลูกนี้ ทำให้ จ.เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในคืนเดียว ปริมาณน้ำทั้งหมดเข้าเขื่อนภูมิพลวันละ 150-200 ล้าน ลบ.ม. พบว่าวันที่ 16 ก.ย. น้ำเขื่อนภูมิพลเพิ่มเป็น 11,663 ล้าน ลบ.ม. หรือ 87% เขื่อนสิริกิติ์ 9,078 ล้าน ลบ.ม. หรือ 96%

และในวันที่ 1 ต.ค. น้ำในเขื่อนภูมิพลเพิ่มเป็น 12,554 ล้าน ลบ.ม. หรือ 93% ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนวันละ 115 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 9,394 ล้าน ลบ.ม. หรือ 99% น้ำเข้าเขื่อน 50 ล้าน ลบ.ม. และเกิดฝนตกในพื้นที่ภาคกลางส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนและน้ำเขื่อนท่วมพื้นที่ภาคกลางใต้เขื่อนเจ้าพระยาลงมาเกือบทั้งหมด ในขณะที่เชียงใหม่ฝนตกเพียงคืนเดียวท่วมตัวเมืองเชียงใหม่

วันที่ 30 ก.ย. มีการระบุว่า ปริมาณน้ำเหนือที่จะลงมา กทม. มีจำนวนมหาศาลมากกว่าปี 2549 หากบริหารจัดการไม่ได้หรือไม่ดี น้ำอาจท่วมถึงยอดเจดีย์เกาะเกร็ด แต่วันต่อมากรมชลฯ ออกข่าวแก้ไขว่า น้ำจะท่วมถึงยอดเจดีย์ไม่เป็นความจริง

วันที่ 5 ต.ค. เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเต็ม 100% ต้องปล่อยน้ำวันละ 100 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มจากที่ปล่อยวันละ 80 ล้าน ลบ.ม. ต่อเนื่องประมาณ 6 วันก่อนลดปริมาณหลังจากน้ำเข้าเขื่อนลดลง

ระหว่างที่น้ำเหนือกำลังทยอยลงมา ทุกจังหวัดท้ายเขื่อนเตรียมรับมือ สถานการณ์ความขัดแย้งของมวลชนที่แพร่ขยายต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน ก.ย. จากภาวะน้ำท่วมในพื้นที่เจ้าพระยาหลายจังหวัดเริ่มรุนแรงขึ้น จังหวัดใต้เขื่อนเจ้าพระยาอย่าง ชัยนาท สิงห์บุรี เกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เรียกร้องให้กรมชลฯ เปิดประตูระบายน้ำพลเทพเพื่อให้รับน้ำเข้าแม่น้ำท่าจีนเพิ่ม โดยเหตุการณ์เกิดต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.

จนถึงวันที่ 26 ก.ย. ประชาชนส่วนหนึ่งเข้ารื้อคันประตูระบายน้ำพลเทพ เพื่อให้น้ำเข้าไปในพื้นที่สุพรรณบุรีเพิ่ม ทำให้พิธีกรรายการโทรทัศน์ชื่อดังต้องไปเป็นเจ้าภาพห้ามศึก แม้เบื้องต้นจะยุติ แต่ปัญหาก็ไม่ได้คลี่คลาย

ระหว่างนี้เกิดปัญหาน้ำท่วมหลายจังหวัดใต้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ประชาชนเรียกร้องให้กรมชลฯ เปิดประตูระบายน้ำพลเทพเพื่อรับน้ำเข้ามาแม่น้ำท่าจีน และประตูระบายน้ำบรมธาตุเพื่อรับน้ำเข้าแม่น้ำน้อย มีการประท้วงกรมชลฯต่อเนื่อง โดยมี สส.สุชาติ ลายน้ำเงินและ สส.พายัพ ปั้นเกตุ เป็นแกนนำ เรียกร้องต่อเนื่องและก่อวิวาทะระหว่างพรรคชาติไทยพัฒนา (ชพน.) และพรรคเพื่อไทย

ในขณะนั้นกรมชลฯ เปิดประตูระบายน้ำพลเทพที่ระดับ 170 ลบ.ม.ต่อวินาที จากความสามารถในการรับน้ำ 150 ลบ.ม.ต่อวินาที ต่อเนื่องมาหลายวันแล้ว และเพราะมีฝนตกในพื้นที่ และกรมชลฯ ยืนยันว่าระบายเข้าไปเพิ่มมากไม่ได้ เพราะแม่น้ำท่าจีนมีข้อจำกัด นอกจากสุพรรณบุรีจะท่วมแล้ว ยังมี จ.นครปฐม สมุทรสาคร และพื้นที่ปลายน้ำได้รับผลกระทบ แต่คำชี้แจงดังกล่าวไม่เป็นผล

วันที่ 3 ต.ค. พายัพได้ยื่นหนังต่อนายกฯ ที่ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการซ่อมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี เรียกร้องให้นายกฯ ระบายน้ำเข้าแม่น้ำท่าจีนเพิ่ม เพราะพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ยังแห้ง

ขณะที่ ชพน.ได้แถลงชี้แจงว่า สุพรรณบุรีท่วมหลายพื้นที่แล้ว ซึ่งต่อมาวันที่ 5 ต.ค. ประภัตร โพธสุธน แกนนำ ชพน. ลงทุนพาผู้สื่อข่าวไปดูว่าสุพรรณบุรีน้ำได้ท่วมมานานแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำท่วมมาก่อนหน้า 2 เดือน แต่ไม่เป็นข่าว ซึ่ง บรรหาร ศิลปอาชา เองก็ไม่พอใจต่อข่าวดังกล่าว ทำให้ในการประชุมคณะกรรมการบริหารน้ำที่กรมชลฯ บรรหารถึงกับเอ่ยให้พายัพลงไปดูพื้นที่จริงก่อนพูด เพราะสุพรรณบุรีท่วมเกือบทุกพื้นที่ ยกเว้นที่ดอนและในเมืองที่เทศบาศดูแลดีทำพนังกั้นน้ำอย่างดี

ความขัดแย้งของสองพรรคยุติลง หลังพี่ชายนายกฯ โทร.มาเคลียร์ใจและห้ามลูกพรรคพูดจาให้เกิดความขัดแย้งกัน

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนั้นนักวิชาการในศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แนะนายกฯ ว่า ควรจะบริหารน้ำออกไปทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก เพราะกรมชลฯ ยังบริหารน้ำไม่เต็มที่

แต่หากเข้าไปดูสถิติการระบายน้ำของกรมชลฯ ผ่านระบบบริหารน้ำฝั่งตะวันตก จะพบว่าตั้งแต่เหตุการณ์พายุเข้าไทยกลางเดือน ส.ค.เป็นต้นมา ก็จะพบว่ามีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำพลเทพ เพื่อผ่านแม่น้ำท่าจีน และประตูระบายน้ำบรมธาตุผ่านแม่น้ำน้อยไปออกทะเลอย่างต่อเนื่อง ในระดับ 200-226 ลบ.ม.ต่อวินาที

ในขณะที่ความสามารถในการรับน้ำของประตูระบายน้ำพลเทพอยู่ที่ 150 ลบ.ม.ต่อวินาที ประตูระบายน้ำบรมธาตุที่มีกำลังรับน้ำประมาณ 230 ลบ.ม.ต่อวินาที มีการระบายผ่านประมาณ 40-136 ลบ.ม.ต่อวินาที

อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ประท้วงและมีการยื่นหนังสือให้ปล่อยน้ำเข้าแม่น้ำท่าจีนเพิ่ม ประตูระบายน้ำพลเทพได้มีการระบายน้ำเพิ่มตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. เป็น 360 ลบ.ม.ต่อวัน เพิ่มเป็น 2 เท่าของความสามารถในการรับน้ำ

และที่ประตูระบายน้ำบรมธาตุในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการระบายน้ำในปริมาณ 41 ลบ.ม. และเพิ่มเป็น 85 ลบ.ม. 136 ลบ.ม. เป็น 171 ลบ.ม. ต่อเนื่องตามที่ฝ่ายการเมืองต้องการ ซึ่ง ประภัตร กล่าวว่า สุพรรณบุรีพร้อมน้ำท่วม อยากใส่น้ำก็ให้ใส่เข้ามา

ผลจากการระบายน้ำเข้าไปเกินความสามารถของลำน้ำ ทำให้พื้นที่บริเวณแม่น้ำท่าจีนเกิดน้ำท่วมต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้างไล่ลงไปถึง อ.บางเลน จ.นครปฐม และขณะนี้กองทัพน้ำก็เข้าถล่มถนนพระราม 2 เพื่อหาทางไหลลงสู่ทะเล

จากการไล่เรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ได้คำตอบชัดเจนว่า ปริมาณน้ำนับหมื่นล้าน ลบ.ม. ที่ไล่ถล่มฝั่งตะวันตกนั้นมีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ เป็นน้ำจากฟ้าแต่เพราะขาดการจัดการที่ดี ทำให้น้ำจากฟ้ากลายเป็นน้ำเน่า กวาดเซาะเอาความล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำที่สะสมมาหลายรัฐบาล ออกมาประจานให้เห็นว่าไม่มีใครให้ความสำคัญแก้ไขปัญหาน้ำอย่างจริงจัง จนทำให้ความเสียหายบานปลายอยู่จนถึงขณะนี้

***ผังปริมาณน้ำในทุ่งฝั่งตะวันตกเจ้าพระยาตอนล่าง***

http://goo.gl/SQpOF


 

จุฬาฯ เสนอ 11 มาตรการแก้น้ำท่วม


 

จุฬาฯ เสนอ 11 มาตรการแก้น้ำท่วม

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอ 11 มาตรการป้องกันภัยพิบัติและน้ำท่วม เผยความแปรปรวนของภูมิอากาศมีความถี่มากขึ้น... 

เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวเรื่อง 11 มาตรการแก้ไขน้ำท่วมแบบหลายมิติ "ซุปเปอร์เอกซ์เพรสฟลัดเวย์ หนทางฟื้นความเชื่อมั่นประเทศไทย" ว่า จากสภาพการแปรปรวนของภูมิอากาศแบบผกผันของประเทศไทยในช่วง 2 ปี คือ พ.ศ. 2553-2554 ได้ก่อให้เกิดสภาพฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล รูปแบบฝนตกได้เปลี่ยนไปจากอดีตอย่างมาก กล่าวคือจะตกครั้งละมากๆ บางครั้งฝนตกมาครั้งหนึ่งมากกว่าฝนตกเฉลี่ยทั้งปีเสียด้วยซ้ำไป บางที่มีฝนตกเป็นเวลาหลายวันต่อเนื่อง แต่บางครั้งฝนก็ทิ้งช่วงเป็นเวลานานๆ หรือบางพื้นที่ที่ไม่น่าจะมีฝนตกในบางช่วงเวลากลับมีฝนตกหนักแบบไม่ลืมหู ลืมตา ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม และจากการศึกษาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาชั้นนำของโลก พบว่าในอนาคตสภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศจะมีความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคงก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม พายุโซนร้อน พายุฤดูร้อน แผ่นดินถล่ม ไฟป่าและหลุมยุบเกิดขึ้นกับประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ส่งผลให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบทำได้ยากขึ้น

 


นายธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า การแก้ไขน้ำท่วมแบบหลายมิติจึงเป็นความพยายามที่จะคลี่ปมของปัญหาซึ่งมีอยู่หลายมิติ และซ้อนทับกันอยู่ให้ออกมาเห็นในแนวเดียวกัน โดยตนขอเสนอการแก้ปัญหาน้ำท่วมผ่าน 11 มาตรการ ดังนี้ 

1. สร้างระบบทางด่วนพิเศษระบายน้ำท่วม เพื่อให้มีระบบผันน้ำให้ไหลลงสู่อ่าวไทยอย่างรวดเร็ว การสร้างทางระบายน้ำฉับพลัน เพื่อให้ไหลลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด โดยขุดร่องน้ำขนาบคลองเพื่อเป็นช่องทางระบายน้ำในเวลาน้ำหลาก       2.วางแผนแม่บทควบคุมการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้สิ่งก่อสร้างในลุ่มน้ำต่างๆ รวมทั้งควบคุมการถมที่ดินทั้งระบบ 

ควบคุมการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ล่อแหลมน้ำท่วม 

3.ปรับปรุงระบบเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ทั้งระบบ สิ่งที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วนคือ ติดตามข่าวสารการเคลื่อนตัวของพายุ แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าสู่ประชาชนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและประชาชนทั่วไปทราบถึงข่าวสารและข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการคาดการณ์ล่วงหน้า และต้องจัดเตรียมความพร้อมหากมีพายุเกิดขึ้นจริงส่วนมาตรการในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 

4.วางแผนพัฒนากรุงเทพฯ และเมืองบริวารในอนาคต 

5.มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วมและการประกันภัย เพื่อกองทุนชดเชยน้ำท่วม ทั้งนี้ภาษีน้ำท่วมโดยตรงจากพื้นที่ที่มีระบบปิดล้อมป้องกันน้ำท่วม ส่วนภาษีน้ำท่วมทางอ้อม เพื่อปกป้องพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติโดยเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างในอัตราสูงมาก 

6. มาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองโดยใช้แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 

7.มาตรการควบคุมการใช้น้ำบาดาลเพื่อลดปัญหาแผ่นดินทรุด ช่วยให้การระบายน้ำได้ดีขึ้น 

8.มาตรการแผนแม่บทกำหนดระยะเวลาการเพาะปลูกในลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการแปรปรวนและผกผันของภูมิอากาศในอนาคต เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดกับภาคเกษตรกรรมและการผลิตอาหารของประเทศทั้งระบบ    9.มาตรการอนุรักษ์และปกป้องพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน ในพื้นที่ล่อแหลมเสี่ยงภัยน้ำท่วมสูง  10.ควรเร่งพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดภัยพิบัติทั้งระบบ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการภัยพิบัติของภาครัฐ และ 

11.ควรจัดตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องภัยพิบัติและส่งเสริมงานวิจัยทั้งระบบอย่างจริงจัง เพื่อลดภัยพิบัติด้วยองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่

 

โดย: ทีมข่าวการศึกษา

14 พฤศจิกายน 2554, 19:17 น.

http://m.thairath.co.th/content/edu/216573